เป็นที่รู้กันดีว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้น จะต้องประกอบด้วยชิ้นส่วนที่เป็นโลหะ เนื่องจากการทำงานของอุปกรณ์เหล่านี้จะต้องใช้การนำไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้ทำงานได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังถูกนำไปใช้เพื่อขึ้นโครงสร้างที่แข็งแรงต่อการใช้งานอีกด้วย และในบทความนี้เราจะพาไปดูชนิดของโลหะ พร้อมบอกคุณสมบัติที่แตกต่าง ใครที่อยากรู้เรื่องพื้นฐานของการผลิตงานปั๊มชิ้นส่วนโลหะสำหรับงานอิเล็กทรอนิกส์ ต้องห้ามพลาด
ความสำคัญของโลหะในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
เหตุผลที่ทำให้ “โลหะ” เป็นวัสดุสำคัญในการประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มาจากคุณสมบัติของโลหะที่มีค่านำไฟฟ้าได้ดี อีกทั้งยังสามารถต้านทานการกัดกร่อนและทนทานต่อการใช้งาน ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นปัจจัยหลักที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้องการ
ในปัจจุบัน โลหะส่วนใหญ่ที่เป็นองค์ประกอบในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มักจะเป็นโลหะผสมที่ได้จากเหล็กและอะลูมิเนียม เนื่องจากมีน้ำหนักเบา นำไฟฟ้าได้ดี และมีต้นทุนที่ประหยัด อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังมีโลหะผสมผสานอีกมากมายที่ถูกหล่อขึ้นมา เพื่อพัฒนาชนิดของโลหะให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้น และตอบโจทย์ต่อการนำไปประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของโลหะที่ควรรู้
1. โลหะกลุ่มเหล็ก (Ferrous Metals)
เป็นประเภทของโลหะที่มีส่วนประกอบหลักเป็นเหล็กกล้า (Steel) และเหล็กหล่อ (Cast Iron) ซึ่งจะมีธาตุคาร์บอนผสมอยู่ในปริมาณที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ 0.1% ไปจนถึง 4% ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการผลิต ว่าจะต้องการความแข็งแรงมากเท่าไหร่ ทนทานต่อการกัดกร่อนและเกิดสนิมได้มากน้อยแค่ไหน ยกตัวอย่างเช่น เหล็กที่มีคาร์บอนผสมอยู่ 0.1-1.7% จะเรียกว่า “เหล็กกล้า” ซึ่งมีความแข็งแต่เนื้อในเปราะ ในทางกลับกันถ้าเหล็กที่มีคาร์บอนผสมอยู่ 2-4% ก็จะเรียกว่า “เหล็กหล่อ” โดยเรียกจากกระบวนการหล่อขึ้นรูปนั่นเอง
ในส่วนของคุณสมบัติของโลหะกลุ่มเหล็ก โดยทั่วไปจะเกิดสนิมได้ตามธรรมชาติ และสามารถดูดติดกับแม่เหล็กได้ดี อีกทั้งยังมีความแข็งแรงค่อนข้างสูง จึงเหมาะกับการนำไปปรับปรุงคุณภาพ และเปลี่ยนแปลงรูปทรง ทั้งการเจาะ กลึง ไส รีด ให้ออกมาเป็นแผ่นบางตามขนาดที่ต้องการ ก่อนจะนำไปสู่กระบวนการผลิตในขั้นตอนถัด ๆ ไป ตัวอย่างการใช้งานส่วนมากของโลหะกลุ่มนี้ มักจะเป็นการผลิตเครื่องครัว อะไหล่ช่าง กล่องบรรจุภัณฑ์ ท่อ และชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น
2. โลหะนอกกลุ่มเหล็ก (Non-Ferrous Metals)
สำหรับประเภทของโลหะนอกกลุ่มเหล็กนั้น จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากโลหะกลุ่มเหล็กโดยสิ้นเชิง กล่าวได้ว่าโลหะกลุ่มนี้จะถูกหล่อขึ้นมาโดยปราศจาก “เหล็ก” ทำให้ไม่เกิดทั้งสนิม และไม่สามารถใช้แม่เหล็กในการดูดติดได้ อีกทั้งยังมีคุณสมบัติที่หลากหลาย เช่น ทนต่อการกัดกร่อนจากสภาพอากาศ, ความสามารถในการนำไฟฟ้าและนำความร้อน จึงทำให้ชนิดของโลหะกลุ่มนี้อย่าง อะลูมิเนียม ทองแดง และสังกะสี ถูกนำไปใช้ในการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะดึงประสิทธิภาพการทำงานให้ออกมาได้สมบูรณ์แบบมากที่สุดนั่นเอง
“อะลูมิเนียม” ชนิดของโลหะที่นิยมใช้เป็นอย่างมากในอุปกรณ์ไอที
อะลูมิเนียม เป็นชนิดของโลหะนอกกลุ่มเหล็กที่มีคุณสมบัติค่อนข้างโดดเด่น โดยมีความหนาแน่นน้อย จึงมีน้ำหนักเบา ไม่เสี่ยงต่อการเกิดร้อยร้าวหรือแตกหัก อีกทั้งยังมีสีเทาเงินที่สะท้อนแสงได้ดี ให้ทั้งความสวยงาม และนำทั้งไฟฟ้าและความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อนำอะลูมิเนียมที่มีความอ่อนไปผสมเติมเต็มกับโลหะชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเหล็กและซิลิกอน เพื่อสร้างโลหะผสมขึ้นมาใหม่ให้มีทั้งความแข็งแรง ทนทาน และความสามารถในการนำไฟฟ้าและความร้อนได้อย่างดีเยี่ยม จึงทำให้เป็นที่นิยมนำไปใช้ในการประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทดแทนการใช้ทองแดงไม่ว่าจะเป็นการส่งหรือจ่ายไฟฟ้า เพื่อลดน้ำหนักโดยรวมและประหยัดต้นทุนได้มากกว่าเดิมนั่นเอง
เชื่อว่าทั้งหมดนี้ จะเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ที่มีความสนใจในการประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือผู้ที่ต้องการหาข้อมูลพื้นฐานได้ไม่มากก็น้อย และในส่วนของผู้ประกอบการที่กำลังมองหาโรงงานผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับงานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณภาพสูง ต้องมาที่ TexFocus บริษัทรับผลิตโลหะที่มีความเชี่ยวชาญและสร้างชื่อเสียงในฐานะมืออาชีพมานานกว่า 20 ปี พร้อมให้บริการในราคาที่คุ้มค่า รับประกันสเป็กงานถูกใจอย่างแน่นอน สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-593-2000 หรือทางอีเมล contact@texfocus.co.th
ข้อมูลอ้างอิง
1. วัสดุชิ้นส่วนโลหะแผ่น: เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2566 จาก https://www.chinametalworking.com/th/sheet-metal-parts-materials-about-electronic-and-electrical-industry/
2. วัสดุที่นิยมใช้ผลิตอุปกรณ์ไอที มีอะไรบ้าง ? แต่ละชนิดมีความแตกต่างกันอย่างไร ?. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2566 จาก https://tips.thaiware.com/1744.html